ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวซีตีแอเสาะ (naning) คบ.4 คณิตศาสตร์หมู่ 2 ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู (PC 9203)

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

   
         เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความ

              พอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร   มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
               การนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้
 เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับบุคคลทั่วไ 
              เศรษฐกิจพอเพียงมีประโยชน์ต่อประชาชนทุกคนไม่ใช่เฉพาะแต่เกษตรกรเท่านั้น แต่ประชาชนโดยทั่วไปไม่ว่านิสิต นักศึกษา นักเรียน ข้าราชการ พนักงานบริษัทก็สามารถนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการเรียน การทำงาน ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสามารถกระทำได้ดังนี้ 
       -ควรยึดหลักความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน และสละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง
       -ควรประกอบอาชีพด้วยความสุจริตและถูกต้อง แม้จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม
  -ควรลดละการแก่งแย่งผลประโยชน์ และการแข่งบันทางการค้าขาย ตลอดจนการประกอบอาชีพที่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง
    -ควรขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงในการดำรงชีวิตเป็นเป้าหมายสำคัญ

เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร 
           แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิดที่เรียกว่า “การเกษตรทฤษฎีใหม่”เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในการประกอบอาชีพ โดยจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรนั้น แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริจะตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้นคือ
             ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย
            ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา และการพัฒนาสังคม
             ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนา ภาคเอกชน และภาครัฐ ในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล

 กรณีศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวการพัฒนาการเกษตรในเขตพื้นที่แห้งแล้ง โดยทรงทดลองที่จังหวัดสระบุรี ก่อนที่จะขยายโครงการทฤษฎีใหม่นี้ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ใน พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดสระบุรี ตามแนวพระราชดำรินี้ได้เริ่มต้นด้วยที่ดินจำนวน 15 ไร่ ใกล้วัดมงคล (ภายหลังพระราชทานชื่อนี้ว่า วัดมงคลชัยพัฒนา) จัดทำเป็นศูนย์บริการและมีการขุดบ่อน้ำ เพื่อใช้ในการเพาะปลูก ทำให้สามารถปลูกข้าว ผัก และไม้ผลได้ ต่อมาได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 30 ไร่ เป็นศูนย์พัฒนาและได้แย่งที่ดินเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนหนึ่งจัดสรรไว้สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนหนึ่งจัดสรรสำหรับการปลูกพืชสวน พืชไร่ และอีกส่วนที่เหลือเป็นที่สำหรับบุคล การดำเนินการได้ผลดีมาก สามารถสร้างกำไรได้ ต่อมาได้ขยายโครงการมาใช้ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วยให้เกษตรกร ในพื้นที่ต้องประสบกับภาวะแห้งแล้ง การเกษตรต้องพึ่งพาน้ำฝน ก็สามารถมีเศรษฐกิจที่พอเพียง ได้จากเดิมซึ่งไม่สามารถผลิตข้าวได้พอกับความต้องการ เกษตรกรหลายรายที่เข้าร่วมโครงการประสบผลสำเร็จในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี
       จากแนวคิดของระบบเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้น จึงนำไปสู่นโยบายตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2544 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อพึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่น และมีมูลค่าเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น  ปรัชญาหรือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนชาวไทยเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกิน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อันจะนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น