ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวซีตีแอเสาะ (naning) คบ.4 คณิตศาสตร์หมู่ 2 ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู (PC 9203)

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556



        สวัสดีทุกท่านที่กำลังเข้าชมบล็อกนี้....ดิฉันนางสาวซีตีแอเสาะ หะยีเจ๊ะดือราแม  ค.บ.4 คณิตศาสตร์ หมู่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ได้จัดทำบล็อกเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบการเรียน หากท่านใดสนใจที่จะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้เลยค่ะ...

คำอธิบายรายวิชา

........ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์   การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิงฝึกปฏิบัติการสามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์ในรายวิชา

    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
           1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
           2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
           3. ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
           4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
           5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
           6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
           7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
           8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
           9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
          10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
          11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
          12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
          13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
          14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
          15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้


เนื้อหาบทเรียน

    หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
    หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
    หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
    หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
    หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
                                     


รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน

    -วิธีสอน :  เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
    -เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
    -เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(integrity)


กิจกรรมการเรียนการสอน

    -การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ(traditional classroom)
    -การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
    -การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
    -การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
    -การสรุปเป็นรายงาน
    -การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล


   
         เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความ

              พอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร   มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
               การนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้
 เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับบุคคลทั่วไ 
              เศรษฐกิจพอเพียงมีประโยชน์ต่อประชาชนทุกคนไม่ใช่เฉพาะแต่เกษตรกรเท่านั้น แต่ประชาชนโดยทั่วไปไม่ว่านิสิต นักศึกษา นักเรียน ข้าราชการ พนักงานบริษัทก็สามารถนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการเรียน การทำงาน ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสามารถกระทำได้ดังนี้ 
       -ควรยึดหลักความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน และสละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง
       -ควรประกอบอาชีพด้วยความสุจริตและถูกต้อง แม้จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม
  -ควรลดละการแก่งแย่งผลประโยชน์ และการแข่งบันทางการค้าขาย ตลอดจนการประกอบอาชีพที่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง
    -ควรขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงในการดำรงชีวิตเป็นเป้าหมายสำคัญ

เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเกษตรกร 
           แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิดที่เรียกว่า “การเกษตรทฤษฎีใหม่”เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในการประกอบอาชีพ โดยจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรนั้น แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริจะตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้นคือ
             ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย
            ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา และการพัฒนาสังคม
             ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนา ภาคเอกชน และภาครัฐ ในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล

 กรณีศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวการพัฒนาการเกษตรในเขตพื้นที่แห้งแล้ง โดยทรงทดลองที่จังหวัดสระบุรี ก่อนที่จะขยายโครงการทฤษฎีใหม่นี้ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ใน พ.ศ. 2535 ที่จังหวัดสระบุรี ตามแนวพระราชดำรินี้ได้เริ่มต้นด้วยที่ดินจำนวน 15 ไร่ ใกล้วัดมงคล (ภายหลังพระราชทานชื่อนี้ว่า วัดมงคลชัยพัฒนา) จัดทำเป็นศูนย์บริการและมีการขุดบ่อน้ำ เพื่อใช้ในการเพาะปลูก ทำให้สามารถปลูกข้าว ผัก และไม้ผลได้ ต่อมาได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 30 ไร่ เป็นศูนย์พัฒนาและได้แย่งที่ดินเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนหนึ่งจัดสรรไว้สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนหนึ่งจัดสรรสำหรับการปลูกพืชสวน พืชไร่ และอีกส่วนที่เหลือเป็นที่สำหรับบุคล การดำเนินการได้ผลดีมาก สามารถสร้างกำไรได้ ต่อมาได้ขยายโครงการมาใช้ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วยให้เกษตรกร ในพื้นที่ต้องประสบกับภาวะแห้งแล้ง การเกษตรต้องพึ่งพาน้ำฝน ก็สามารถมีเศรษฐกิจที่พอเพียง ได้จากเดิมซึ่งไม่สามารถผลิตข้าวได้พอกับความต้องการ เกษตรกรหลายรายที่เข้าร่วมโครงการประสบผลสำเร็จในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี
       จากแนวคิดของระบบเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวข้างต้น จึงนำไปสู่นโยบายตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2544 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อพึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่น และมีมูลค่าเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น  ปรัชญาหรือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนชาวไทยเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกิน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อันจะนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม


ความซื่อสัตย์ คุณธรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝัง

       ความซื่อสัตย์   หมายถึง   การประพฤติตรงและจริงใจ   ไม่คิดคดทรยศ   ไม่โกง   ไม่หลอกลวง 
ความซื่อสัตย์   เป็นลักษณะที่ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับถือและไว้วางใจ  เป็นที่น่าคบหาสมาคมด้วย  ถ้าขาดความซื่อสัตย์จะเป็นคนไม่น่าคบหาสมาคม   เป็นที่ระแวงแคลงใจของเพื่อนและบุคคลใกล้ชิด   โดยปกติแล้วผู้ปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์จะมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านส่วนตัวการประกอบอาชีพ   การสังคม  
       พฤติกรรมที่แสดงว่ามีความซื่อสัตย์  มีดังนี้
 1.ตรงต่อเวลา นัดหมายแล้วมาตามนัดและตรงเวลา   มาโรงเรียนตรงเวลาไม่มาสาย
 2.ไม่พูดปด พูดความจริงเสมอ
 3.ไม่หน้าไหว้หลังหลอกต่อหน้าทำอย่างหนึ่งและลับหลังทำอีกอย่างหนึ่ง
 4.ยอมรับผิดเมื่อทำผิดไม่ใส่ร้ายความผิดให้กับผู้อื่น
 5.จ่ายเงินทุกครั้งเมื่อซื้อสิ่งของขึ้นรถประจำทางหรือโดยสารยานพาหนะอื่นๆหรือใช้บริการอื่นๆที่ต้องเสียเงินค่าบริการ
 6. ไม่หยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนจะใช้สิ่งของผู้อื่นต้องขออนุญาตก่อน
 7.ไม่ลอกการบ้านเพื่อน ไม่แอบอ้างผลงานเพื่อนเป็นผลงานตัวเอง ไม่ลอกคำตอบเพื่อน